รางวัลเกียรติคุณ


คุณพชรพรรณ มาตรศรี ได้รับรางวัลเกียรติคุณ “Saint Jfrancis of Assisi Award” 

จากเอกอัครสมณทูตแห่งนครรัฐวาติกันประจําประเทศไทย Archbishop Peter Bryan Wells

ในงาน “คนดีรักษ์โลก” วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม B1-1 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา

 

  คําแปล:

ปาฐกถาโดย เอกอัครสมณทูตแห่งนครรัฐวาติกันประจําประเทศไทย Archbishop Peter Bryan Wells

ในงาน “คนดีรักษ์โลก”

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้องประชุม B1-1 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา

       ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ แขกผู้มีเกียรติ และบุคคลพิเศษที่เรา ชื่นชมในวันนี้ในฐานะผู้ที่ดูแลโลกของเรา
เราถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้กล่าวปราศรัยในพิธีมอบรางวัล “คนดีรักษ์โลก” ครั้งนี้ นอกเหนือจากการเฉลิมฉลองความสําเร็จของแต่ละคนแล้วการรวมตัวในวันนี้ยังตอกยํ้าถึงความจริงที่ว่าความหวังและการลงมือทําจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเรากล้าที่จะเผชิญกับความท้าทายของความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น 

       หัวข้อ "Time to Care for the World: ถึงเวลาแล้วที่ต้องดูแลโลก” สะท้อนถึงความเร่งด่วนและความจําเป็นอย่างยิ่ง

      ในพระสมณสาสน์ Laudato Si'(เลาดาโตซี สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ทรงเตือนเราอย่างมีพลังว่าโลกของเราซึ่งเป็นบ้านที่เราอาศัยอยู่ร่วมกันนั้นกําลัง ได้รับอันตรายจากการถูกปล้นถูกทารุณกรรมและถูกทําลายโลกของเราเรียกร้องความสนใจ เช่นเดียวกับคนยากจนและคนชายขอบ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ พี่น้องทั้งหลาย การเพิกเฉยต่อเสียงร้องเหล่านี้ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปผลที่ตามมาจากความเกียจคร้านของเรานั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนทุกวันในธารน้ำแข็งที่กําลังละลายกระแสน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและรูปแบบสภาพอากาศที่แปรปรวน 

      ท่ามกลางวิกฤตนี้ เราพบความหวังในความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของ "คนดี" ที่เราให้เกียรติในวันนี้ ผู้ได้รับรางวัลแต่ละคนสะท้อนถึงจิต วิญญาณของ Laudato Si' (เลาดาโต ซี) โดยแสดงให้เห็นว่าการดูแล โลกไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบ แต่เป็นสิทธิพิเศษและการทรงเรียก แท้จริงแล้วเกียรติยศเหล่านั้นในปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ตอกย้ําถึงพลัง และความจําเป็นในการลงมือทําร่วมกันดังที่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า "อนาคตของโลกขึ้นอยู่กับ ความสามารถของเราในการร่วมมือกัน"

     Laudato Si' (เลาดาโต ซี) มอบกรอบการทํางานทีชัดเจนสําหรับการ ดําเนินการร่วมกันนี้ โดยเรียกร้องให้มี "ระบบนิเวศที่เป็นองค์รวม” โดยตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด นอกเหนือจากการแก้ปัญหาทางเทคนิคแล้วยังกระตุ้นให้เรายอมรับ วิสัยทัศน์แบบองค์รวมที่ครอบคลุมถึงความยุติธรรมทางสังคม ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

      อย่างไรก็ตามเราไม่ควรมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นบรรดาปุ่มกดที่เป็นจุดสิ้นสุดที่อยู่บนแผงยิงจรวดจํานวนมาก สําหรับการดําเนินการต่อไปเรื่องราวและผลงานของผู้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ควรเป็นแรงบันดาลใจให้เราก้าวออกจากเขตความสะดวกสบายของเราออกไปท้าทายสภาพที่เป็นอยู่ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการรักษาโลกของเราม่ว่าภูมิหลังหรือทรัพยากรของเราจะเป็นอย่างไรเราทุกคนสามารถ ที่จะมีส่วนร่วมในภารกิจนี้ได้เช่นกันลองพิจารณาขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการเลือก อย่างมีสติในแต่ละวัน การใช้ชีวิตที่ยั่งยืนโดยการอนุรักษ์น้ําและการ รีไซเคิลการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการ สนับสนุนองค์กรที่ทํางานเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

       หมดเวลาแล้วที่เราจะนิ่งเฉยโลกซึ่งเป็นบ้านร่วมกันของเราเรียกร้อง ให้เราเริ่มลงมือทําด้วยความเห็นอกเห็นใจความเฉลียวฉลาดและความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ ขอให้เราเป็นคนรุ่นที่ตอบรับการเรียกร้องนี้ด้วย การกระทําที่เป็นรูปธรรม โดยทิ้งมรดกของโลกที่มีสุขภาพดีขึ้นไว้ สําหรับคนรุ่นต่อๆ ไป
        โปรดจําไว้ว่า อนาคตถูกกําหนดโดยการเลือกที่เราทําในวันนี้ ให้เรา เลือกที่จะเป็น "คนดี" ที่ไม่เพียงแต่ปกป้องโลก แต่ยังรักษาและเลี้ยง ดูโลกอย่างแข็งขันเพื่อประโยชน์ของทุกคนขอบคุณครับ
                                                                                  (นางสาวสรินยา แท่นชวาล ผู้แปล ในนามสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย)

Visitors: 57,867